สมุทรสาคร สืบสานภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล จัดพิธี “ประเพณีแรกนาเกลือ” เอาฤกษ์เอาชัย

สมุทรสาคร สืบสานภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล จัดพิธี “ประเพณีแรกนาเกลือ” เอาฤกษ์เอาชัย

สมุทรสาคร สืบสานภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล จัดพิธี “ประเพณีแรกนาเกลือ” เอาฤกษ์เอาชัย

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 07.30 น. นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางมาเป็นประธานในงานอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล “ประเพณีแรกนาเกลือ” พร้อมด้วยนายสุรเดช สมิเปรม รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร, นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ รองอธิบดีกรมตรวจบัญชี, นายสุรศักดิ์ ผลยังส่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร, นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร , ร้อยตรีประพันธ์ ถึกสกุล นายอําเภอเมืองสมุทรสาคร, นายอํานาจ โสรถาวร เกษตรจังหวัดสมุทรสาคร, หัวหน้าส่วนราชการ และแขกผู้มีเกียรติอีกหลายท่านร่วมงาน ที่วิสาหกิจชุมชนสหกรณ์ หมู่ 3 โคกขาม ตําบลโคกขาม อําเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 

สำหรับ การจัดงานอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล “ประเพณีแรกนาเกลือ” นั้นเนื่องจากสมุทรสาครมีอาชีพหลักก็คือการทำนาเกลือ นับว่าเป็นอาชีพการเกษตรที่สําคัญของจังหวัดสมุทรสาคร เป็นอาชีพที่สืบทอดกันมากว่า 80 ปี เป็นมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นในการประกอบอาชีพการเกษตรที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบสาน เนื่องจากมีสภาพ ภูมิประเทศที่เหมาะสม ปัจจุบันจังหวัดสมุทรสาคร มีการทํานาเกลือทะเลอยู่ในพื้นที่ริมชายฝั่งทะเล 8 ตําบลของอําเภอเมือง สมุทรสาคร พื้นที่ 16,788 ไร่ เกษตรกรทํานาเกลือ 335 ครัวเรือน ปริมาณเกลือทะเลที่ผลิตได้ประมาณ 268,608 ตัน/ปี สามารถสร้างมูลค่าปีละกว่า 400 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันเกลือทะเลของจังหวัดสมุทรสาคร มีเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับการทํานาเกลือทะเล (มกษ. 9055 – 2562) จํานวน 3 ราย ได้แก่ 1) นายเลอพงศ์ ลั่นทอง 2) นางสาววรรณจิตร สินทะเกิด3) นายพูนศักดิ์ นิลเภตรา นอกจากนี้เกษตรกรยังได้รับการสนับสนุนและขับเคลื่อนการบริหาร จัดการ โดยคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย เพื่อสร้างความมั่นคง เข้มแข็ง ในอาชีพให้แก่เกษตรกรชาวนาเกลือ

“นาเกลือ” เป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่ง ของมนุษย์ที่สามารถนําเอาธรรมชาติมาดัดแปลงและนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า การทํานาเกลือ ในประเทศไทยมีมานานหลายร้อยปี เพราะเกลือมีความสําคัญต่อเศรษฐกิจและชุมชนมาตั้งแต่สมัยโบราณ เกลือเป็นสิ่งจําเป็นในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างชุมชน เป็นอาชีพที่แสดงถึงภูมิปัญญาความรู้ ที่ได้จากประสบการณ์ การสังเกตุ และการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ภูมิปัญญาเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ สู่ลูกหลานโดยการบอกเล่าและถือปฏิบัติต่อ ๆ กันมา และการทํานาเกลือทุกครั้งชาวนาเกลือจะมีประเพณี และพิธีกรรมในการประกอบอาชีพที่เป็นลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่สําคัญ คือ “ประเพณีแรกนาเกลือ” ซึ่งประเพณีดังกล่าว เป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อการเริ่มทํานาเกลือ ในฤดูกาลใหม่ โดยจะเริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายนหรือช่วงหลังออกพรรษา โดยถือฤกษ์ยามอันดี คือ ตรงกับ วันพฤหัสบดีและวันธงชัย ผู้ทําพิธีจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นจากความเชื่อในเรื่อง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลในการทํานาเกลือ ทําให้การทํานาเกลือมีความราบรื่น ไม่มีอุปสรรค และได้ผลผลิตเกลือเป็นจํานวนมาก และประสบผลสําเร็จในการทํานาเกลือ จึงมีพิธีเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ด้วยของมงคล อาทิ ขนมต้มแดงต้มขาว ขนมขี้หนู ไข่ต้ม หัวหมู เป็ดพะโล้ และผลไม้มงคล 9 อย่าง เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อเป็นขวัญกําลังใจให้แก่เกษตรกรชาวนาเกลือ และรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมการทํานาเกลือของประเทศ คณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย จึงมีมติการประชุมคณะกรรมการ พัฒนาเกลือทะเลไทยครั้งที่ 4/2565 ในวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 ผ่านการประชุมออนไลน์ด้วย โปรแกรม ZOOM ส่งสัญญาณจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เป็นประธาน เห็นชอบการดําเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พิธีแรกนาเกลือในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และพิธีทําขวัญเกลือ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และมอบหมายให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลัก และหน่วยงานอื่น ๆ เป็นหน่วยให้การสนับสนุน เพื่อเป็นขวัญและกําลังใจ และสืบสาน วัฒนธรรม โดยภายในงานประกอบด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้พิธีสงฆ์/ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ 9 รูป, พิธีแรกนาเกลือ,พิธีเปิดงานอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล “ประเพณีแรกนาเกลือ” และนิทรรศการงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเกลือทะเลเพื่อการเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ และร้านจําหน่ายสินค้า และร้านอาหารในเส้นทางสายเกลือ ภายใต้แนวคิด “Salt Sand Seafood” เกษตรกร กลุ่มเป้าหมายรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเกลือทะเลฯ

Related Articles