สมุทรสาคร 7 กลุ่ม ผู้ได้รับผลกระทบจากมติเปลี่ยนสีผังเมือง รวมตัวคัดค้านพร้อมร้องขอให้ตรวจสอบภายใน 30 วัน ลั่นหากไม่เห็นผลเดินหน้ายื่นศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราว

สมุทรสาคร 7 กลุ่ม ผู้ได้รับผลกระทบจากมติเปลี่ยนสีผังเมือง รวมตัวคัดค้านพร้อมร้องขอให้ตรวจสอบภายใน 30 วัน ลั่นหากไม่เห็นผลเดินหน้ายื่นศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราว

สมุทรสาคร 7 กลุ่ม ผู้ได้รับผลกระทบจากมติเปลี่ยนสีผังเมือง รวมตัวคัดค้านพร้อมร้องขอให้ตรวจสอบภายใน 30 วัน ลั่นหากไม่เห็นผลเดินหน้ายื่นศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราว

เมื่อเวลา 10.30 น.ของวันที่ 24 กันยายน 2567 ที่บริเวณลานสาครบุรี ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร ตัวแทน 7 กลุ่มประกอบด้วย เกษตรกรทำนาเกลือ 2 ฝั่ง ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก, กลุ่มเลี้ยงหอยในทะเล, กลุ่มเพาะเลี้ยงกุ้ง หอย ปู ปลา ชายฝั่ง, กลุ่มเรือประมงเล็กชายฝั่ง, กลุ่มรักษ์อ่าวไทยตอนบน (อ่าว ตัว ก.), ภาคประชาชนคนสมุทรสาคร และเรือประมงพาณิชย์ ที่ได้รับผลกระทบจากมติการเปลี่ยนสีผังเมือง ได้มารวมตัวยื่นหนังสือร้องคัดค้านการเปลี่ยนสีผังเมือง บริเวณโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทรัพย์สาคร ของบริษัท ศิวาชัย จำกัด ผ่านศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีนายไพฑูรย์ มหาชื่นใจ ปลัดจังหวัดสมุทรสาคร เป็นผู้รับมอบหนังสือคัดค้านจากนายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร ในฐานะตัวแทนกลุ่มผู้คัดค้านฯ ครั้งนี้

นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร ในฐานะตัวแทนกลุ่มผู้คัดค้าน เปิดใจว่า สำหรับการคัดค้านการเปลี่ยนสีแก้ไขผังเมือง จังหวัดสมุทรสาคร บริเวณโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทรัพย์สาคร ของบริษัท ศิวาชัย จำกัด ต.กากลง อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร ในครั้งนี้หลังจากที่เคยยื่นไปแล้วครั้งหนึ่งนั้น ก็เนื่องจากมติของทางคณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมในเขตจังหวัดสมุทรสาคร ครั้งที่ 1/2567 มีความเห็นว่า หนังสือคัดค้านของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการนิคมอุตสาหกรรมทรัพย์สาครครั้งก่อนไม่ระบุผู้มีส่วนเสียที่ชัดเจน มีแต่ผู้แทนกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบฯ ดังนั้นการยื่นหนังสือคัดค้านในครั้งนี้ทางกลุ่มจึงได้แนบบัญชีรายชื่อ ลายเซ็นพร้อมสำเนาบัตรประชาชนกลุ่มคัดค้านแต่ละกลุ่มเบื้องต้นมาด้วย โดยมีผู้ลงรายชื่อคัดค้านแล้วเกือบ 500 คน มีตั้งแต่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี นอกจากนี้ยังมีการเปิดรับให้ลงชื่อคัดค้านเพิ่มเติมได้อีกเรื่อยๆ ที่สมาคมการประมงสมุทรสาคร เพื่อนำมายื่นต่อศูนย์ดำรงธรรมต่อไป ขณะที่มีการกล่าวอ้างถึงพระราชบัญญัติการผังเมือง มาตรา 35 ว่าให้สามารถเปลี่ยนสีผังเมืองได้นั้น ก็นับเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนยังไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เนื่องจากพระราชบัญญัติการผังเมือง มาตรา 35 ว่าด้วยการแก้ไขผังเมืองรวมเฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขผังเมืองผลกระทบจากการเปลี่ยนสีผังเมืองจากเดิมเป็นพื้นที่สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียวเป็นสีม่วง เพื่อการอุตสาหกรรม มิใช่จะมีผลกระทบเฉพาะคนในชุมชนชายทะเลกาหลงเท่านั้นผลกระทบกับวิถีชุมชนตลอดแนวชายฝั่งทะเลสมุทรสาครระยะทาง 41.8 กิโลเมตร และ เชื่อมต่อไปยังชายทะเลจังหวัดสมุทรสงครามซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกันอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการคัดค้านเปลี่ยนสีผังเมืองฯ ตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ด้วยว่าการยื่นขอเปลี่ยนสีผังเมืองขัดต่อพระราชบัญญัติการผัง เมือง (2562) มาตรา 35 อีกทั้งมติคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ มิได้เห็นชอบให้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่ขอเปลี่ยนสีผังเมืองในจังหวัดสมุทรสาคร จากมติคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา 4 จังหวัด ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ และ สมุทรสาคร แต่หลักๆ ให้จัดตั้งนิคมในเรือนจำ หรือพื้นที่ของราชพัสดุ การดำเนินการยื่นขอเปลี่ยนสีผังเมืองอาจขัดต่อพระราชบัญญัติการผังเมือง (มาตรา 35) ดังนั้นกลุ่มคัดค้านจึงขอคัดค้านเพื่อไม่ให้ปัญหาที่กังวลเกิดขึ้นก่อน แล้วค่อยทำการคัดค้านดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงานเก็บขยะ และสารเคมีรั่วไหลโรงงานหลอมเหล็ก”

นายมงคลฯ กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ภายหลังจากที่กลุ่มผู้คัดค้านได้ยื่นหนังสือให้กับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสมุทรสาคร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะให้ภาคราชการได้ดำเนินการตามกรอบเวลาภายใน 30 วัน แต่หากผ่านพ้น 30 วันไปแล้ว ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนตามที่คัดค้านไป ก็จะรวมตัวกันยื่นหนังสือต่อศาลปกครองเพื่อขอให้คุ้มครองชั่วคราว

ด้านนายไพฑูรย์ มหาชื่นใจ ปลัดจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้ก็จะมีการหารือร่วมกับทางผู้แทนกลุ่มผู้คัดค้านเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แล้วจะได้รวบรวมนำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร และกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อพิจารณาดำเนินการในการพิจารณาการแก้ไขผังเมืองต่อไป

Related Articles