ข่าวดีชาวประมง รัฐบาลปฏิรูปการประมงสู่ความยั่งยืน

ข่าวดีชาวประมง รัฐบาลปฏิรูปการประมงสู่ความยั่งยืน

นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า แจ้งว่า รัฐบาลใช้เวลากว่า 4 ปี ปฏิรูปการประมงไทย ให้มุ่งไปสู่การทำประมงที่ยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง
โดยในเฟสแรกเป็นการบริหารจัดการเรือประมงพาณิชย์ หรือเรือประมงขนาดใหญ่ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำประมงสูง และการปฏิรูปได้เข้าสู่เฟสที่สอง คือ การบริหารจัดการเรือประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นชาวประมงที่หาเช้ากินค่ำ ชาวประมงรายเล็ก รายน้อยที่แท้จริง ซึ่งบางส่วนยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเรือ

.

ขณะนี้รัฐบาล ได้ประกาศให้เจ้าของเรือประมงพื้นบ้าน ที่มีใบทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือที่มีขนาดไม่ถึงสิบตันกรอส หรือยังไม่ได้จดทะเบียนเรือและไม่มีใบอนุญาตใช้เรือ ยื่นคำขอให้กรมเจ้าท่าตรวจสอบ และทำอัตลักษณ์เรือ ภายในเวลาและสถานที่ที่กำหนด และตามหลักเกณฑ์

📌📌 วิธีการและขั้นตอน ดังต่อไปนี้
.
1⃣ การยื่นคำขอให้ตรวจสอบเรือ
.
👉 ให้เจ้าของเรือ ผู้มีกรรมสิทธิ์ หรือผู้ครอบครองเรือ หรือผู้รับมอบอำนาจ ดำเนินการ
ยื่นคำขอให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบเรือ และทำเครื่องหมายที่แสดงอัตลักษณ์เรือ
.
👉 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 16 ธันวาคม 62 ณ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา ในพื้นที่จังหวัดชายทะเลทั้ง 22 จังหวัด
.
👉 ให้ยื่นคำขอในพื้นที่ที่เรือนั้นจอดอยู่ เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบเรือ
.
1.1 ให้เจ้าของเรือ ผู้ครอบครองเรือ หรือผู้รับมอบอำนาจ ที่ยังไม่ได้ยื่นลงทะเบียนขอตรวจสอบเรือ ดำเนินการยื่นคำขอตามแบบคำร้อง ก.5 เพื่อขอให้ตรวจสอบ และทำอัตลักษณ์เรือประมงที่มีขนาดไม่ถึงสิบตันกรอส
.
1.2 ให้เจ้าของเรือ ผู้ครอบครองเรือ หรือผู้รับมอบอำนาจ ที่ได้เคยยื่นลงทะเบียน ขอตรวจสอบเรือไว้แล้วกับสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา ที่ปรากฏในนัดหมายตรวจสอบเรือ ก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้มาประสานกับสำนักงานงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขานั้น ๆ
.
👉 เพื่อกำหนดวันนัดหมายตรวจสอบเรืออีกครั้ง โดยให้ถือว่าการยื่นลงทะเบียนขอตรวจสอบเรือดังกล่าว เป็นการแจ้งตามประกาศนี้
.
1.3 เอกสารหลักฐานในการขอให้ตรวจสอบเรือ
.
1.3.1 เรือที่มีทะเบียนเรือ ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชน และยื่นคำร้อง ก.5 กรณีที่เจ้าของเรือไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมอกสารประกอบอื่นๆ พร้อมทั้งให้นำใบอนุญาตใช้เรือ และใบทะเบียนเรือไทยฉบับจริงมาแสดง
.
1.3.2 เรือที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเรือ ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนและยื่นคำร้อง ก.5 กรณีที่เจ้าของเรือไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมเอกสารประกอบอื่น ๆ
.
2⃣ กำหนดระยะเวลาการตรวจสอบและทำอัตลักษณ์เรือ กำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบเรือประมง ที่มีขนาดไม่ถึงสิบตันกรอส ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562
.
3⃣ การดำเนินการภายหลังการตรวจสอบ
.
3.1 กรณีเรือประมงที่มีทะเบียนเรือไทย
.
3.1.1 เรือประมงมีขนาดไม่ถึงสิบตันกรอส นายทะเบียนเรือจะดำเนินการแก้ไขรายการในทะเบียนเรือ ให้ตรงกับผลการตรวจสอบเรือ เพื่อประกอบการขอจดทะเบียนเรือประมง
.
3.1.2 เรือประมงมีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป นายทะเบียนเรือจะดำเนินการแก้ไขรายการในทะเบียนเรือ ให้ตรงกับผลการตรวจสอบเรือ และให้ถือว่าเป็นเรือประมงพื้นบ้านจนกว่า กรมประมงจะประกาศให้มีการขอรับใบประมงพาณิชย์ และให้เจ้าของเรือขอรับใบอนุญาต ทำการประมงพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยประมง
.
3.2 กรณีเรือประมงที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเรือไทย
.
3.2.1 ให้เจ้าของเรือประมงยื่นขอหนังสือรับรองให้จดทะเบียนเรือ จากกรมประมง และนำมาแสดงต่อนายทะเบียนเรือ
.
3.2.2 เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ การจดทะเบียนเรือตามกฎหมายเรือไทยแล้ว นายทะเบียนเรือจะจดทะเบียนเรือให้ กรณีไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ให้นายทะเบียนเรือแจ้งให้เจ้าของเรือทราบว่า ไม่สามารถจดทะเบียนเรือไทยได้
.
👉 และให้แจ้งสิทธิ์ให้เจ้าของเรือทำการแจ้งของดใช้เรือ หรือเปลี่ยนประเภทเรือเป็นเรืออื่น โดยให้นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา 54/10 แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2561
.
3.3.3 กรณีที่ได้รับการจดทะเบียนเรือที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป ให้หมายเหตุไว้ในใบอนุญาตใช้เรือดังนี้ “ให้ถือว่าเป็นเรือประมงพื้นบ้านจนกว่า กรมประมงจะประกาศให้มีการขอรับใบประมงพาณิชย์” และให้เจ้าของเรือขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยประมง

.
📞 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมเจ้าท่า: 0-22331311-8

💻 หรือ https://www.md.go.th/md/

Related Articles