กมธ.พัฒนากการเมืองฯ วุฒิสภา ให้ความรู้ภาคส่วนเตรียมความพร้อมการเลือกตั้ง สว.ชุดใหม่ 2567

กมธ.พัฒนากการเมืองฯ วุฒิสภา ให้ความรู้ภาคส่วนเตรียมความพร้อมการเลือกตั้ง สว.ชุดใหม่ 2567

กมธ.พัฒนากการเมืองฯ วุฒิสภา ให้ความรู้ภาคส่วนเตรียมความพร้อมการเลือกตั้ง สว.ชุดใหม่ 2567

วันที่ 12 มกราคม 2567 เวลา 09.30 น. นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน กรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา และประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตา เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ พร้อมนายณรงค์ อ่อนสะอาด สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการฯ ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเพื่อติดตามการเตรียมความพร้อมการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา พร้อมบรรยายให้ความรู้ ประเด็น คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการสมัครรับเลือก เป็นสมาชิกวุฒิสภาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 วิธีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา และอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้  

ทั้งนี้มีนายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร นายศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคล สมาชิกวุฒิสภา หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ทหาร ตำรวจ อปท. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มัธยมศึกษา สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาคมการท่องเที่ยว สมาคมกีฬา สมาคมการประมง มูลนิธิ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน และสื่อมวลชน จังหวัดสมุทรสาคร เข้าร่วมรับฟังการบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร

สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) แต่งตั้งชุดปัจจุบันมีจำนวน 250 คน ซึ่งใกล้จะหมดวาระในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 และสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ต่อในฐานะสภาสูง จํานวน 200 คน มาจากกลุ่มอาชีพต่างๆ และกลุ่มพิเศษคัดเลือกกันเอง โดยสมาชิกวุฒิสภา ชุดใหม่ จะไม่เหมือนสมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบันตามบทเฉพาะกาล และมีจํานวนลดลง รัฐธรรมนูญปี 2560 กําหนดหลักการที่มาและจํานวนวุฒิสภาตามบทบัญญัติหลัก โดยให้สมาชิกวุฒิสภา มีจํานวน 200 คน วาระดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งจะเริ่มนับอายุตั้งแต่วันที่คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศผล มีที่มาจากการที่ผู้สมัครตามแต่ละกลุ่มอาชีพ “เลือกกันเอง” โดยบุคคลที่มี ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะหรือประโยชน์ร่วมกันทํางานหรือเคยทํางานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายของสังคม ซึ่งรายละเอียดการจัดสรรกลุ่มอาชีพต่างๆ จํานวนและหลักเกณฑ์ขั้นตอนการเลือกกันเองอย่างชัดเจน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาพ.ศ. 2561 มาตรา 10 และมาตรา 11 กําหนดให้ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาสามารถเลือกสมัครเป็นตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ได้โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มอาชีพต่างๆ ซึ่งมีจํานวน 18 กลุ่ม และกลุ่มพิเศษอีก 2 กลุ่มคือ กลุ่มสตรี และกลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือผู้ทุพพลภาพรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ รวมจํานวนทั้งหมด 20 กลุ่ม นั่นเอง

Related Articles