“นายกสมาคมประมงนอกน่านน้ำ” เสนอแนวทางแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ จับทำซูริมิ ประหยัดงบหลวง “ซูริมิ คางดำ” ดีกว่าทำปลาป่นอาหารสัตว์ 

“นายกสมาคมประมงนอกน่านน้ำ” เสนอแนวทางแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ จับทำซูริมิ ประหยัดงบหลวง “ซูริมิ คางดำ” ดีกว่าทำปลาป่นอาหารสัตว์ 

“นายกสมาคมประมงนอกน่านน้ำ” เสนอแนวทางแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ จับทำซูริมิ ประหยัดงบหลวง “ซูริมิ คางดำ” ดีกว่าทำปลาป่นอาหารสัตว์

นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมประมงนอกน่านน้ำ เปิดเผยในรายการ ‘ตอบให้เคลียร์’ NBT Connext ว่า ปลาหมอคางดำรับประทานได้ แต่คนอาจจะยังไม่คุ้นเคยในรสชาติ เพราะเนื้อแข็งมากกว่าปลาชนิดอื่น ยังไม่ตรงใจ และมีทางเลือกปลาเยอะ ส่วนตัวมองว่า ปลาหมอคางดำ เป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ สามารถไปแปรรูปได้ เช่น ปลาบ่น ทำอาหารสัตว์ /โรงงานทำ ‘ซูริมิ’ นำเนื้อไปบดและแปรรูป /แกงกระป๋อง /ปลากระป๋อง สร้างมูลค่าการรับซื้อมากขึ้น โดยให้ชาวบ้าน-ชาวประมง จับปลารวมมาส่งที่โรงงาน จะเกิดเป็นอาชีพใหม่ โดยกรมประมง จะต้องเข้ามาช่วยเป็นคนกลางประสานกับบริษัท ที่ทำซูริมิ เพราะใน จ.สมุทรสาคร มีจำนวนมาก หากให้ทุกบริษัท เข้าร่วมวัตถุดิบจะไม่พอ ควรกำหนดให้เฉพาะ 1-2 แห่ง ที่รับซื้อปลาหมอคางดำ ทำซูริมิ

นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า ‘ซูริมิ’ แต่ก่อนใช้ปลาทะเลเป็นหลัก มีเทคโนโลยีคิดค้นโดยคนญี่ปุ่นและถ่ายทอดที่ประเทศไทยเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว ใช้ปลาไซส์ขนาดเล็ก หรือที่คนไม่นิยมบริโภคในภัตตาคาร นำมาขูดเนื้อ แร่เนื้อ บดและตี ผสมเครื่องปรุง อาทิ เกลือ น้ำตาล ไข่ขาว อัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม นำไปฟรีช หรือ แปรรูปเป็น ลูกชิ้น ปูอัด เบอร์เกอร์ปลา วิธีการนี้ปลาหมอคางดำจมีมูลค่าสูงขึ้น จะช่วยประหยัดงบประมาณจากภาครัฐได้เยอะมาก หรืออาจจะไม่ต้องเสียงบเลย ก็เป็นได้

ส่วน ‘แกงปลากระป๋อง’ จะนำปลาหมอคางดำ มาแร่เนื้อ ใส่กระป๋อง ทำเป็นแกงเขียวหวาน แกงพะแนง แต่ปัญหาคือ ที่โรงงานยังไม่ทำ เนื่องจากเมื่อมีสินค้าแล้ว ไม่มีตลาดที่จะไปขาย ถ้ารับซื้อมาแล้ว อาจจะขาดทุน จึงย้ำว่า กรมประมง ต้องเป็นแม่งานหลัก เข้ามาบริหารจัดการเรื่องนี้

“ โดยส่วนตัวมองว่า การแก้ปัญหาแบบทำอาหารทอดรับประทาน เป็นวิธีบ้าน ๆ ถ้าต้องการเพิ่มมูลค่าต้องส่งเข้าโรงงานแปรรูปที่สามารถผลิตได้ 100 -200 ตัน/วัน และข้อดีของอาหารกระป๋อง คือเก็บได้นาน ก็นำมาใช้ตอนช่วงฉุกเฉินได้ เช่น ใช้ในถุงยังชีพ ซึ่งภาครัฐมีโครงการจัดหาถุงยังชีพ ก็แบ่งปันงบประมาณฯ มาซื้อไป เป็นการใช้ภาษีของประชาชนให้คุ้มค่า เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ส่วนที่คนกังวล เพราะปลาชนิดนี้ทำลายระบบนิเวศน์ และถูกเปรียบเสมือนเอเลี่ยน สปีชี่ แต่ปลาก็คือ ปลา สามารถบริโภคได้ หากวิธีจัดการดีจะแก้ปัญหาได้เร็ว และประหยัดงบประมาณภาครัฐ ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว และว่ากลุ่มคนที่ไม่สนับสนุนปลาหมอคางดำตั้งแต่แรกนั้น ต้องแยกเป็น 2 เรื่อง ใครนำเข้ามา หลักฐานเพียงพอหรือไม่ ใครผิดก็ว่ากันไปตามผิด แต่ขณะนี้ต้องแก้ปัญหาปลาหมอคางดำระบาดหนักก่อน เช่น การทำหมันปลา ก็ใช่ว่าจะสำเร็จ ส่วนปลาบ่น ราคาต่ำมาก กิโลกรัมละ 7 บาท ไม่คุ้มค่า แต่ถ้านำปลาหมอคางดำมาทำเป็นอาหาร มีมูลค่ามากกว่านี้ ราคาก็สูงขึ้น และมีประโยชน์ให้กับประชาชนด้วย

Related Articles