สมุทรสาครตัดสินการประกวดลายผ้าอัตลักษณ์ของจังหวัด 5 ผลงาน ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เข้าสู่การประกวดรอบสุดท้ายต่อไป

สมุทรสาครตัดสินการประกวดลายผ้าอัตลักษณ์ของจังหวัด 5 ผลงาน ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เข้าสู่การประกวดรอบสุดท้ายต่อไป

สมุทรสาครตัดสินการประกวดลายผ้าอัตลักษณ์ของจังหวัด 5 ผลงาน ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เข้าสู่การประกวดรอบสุดท้ายต่อไป

วันที่ 14 ธันวาคม 2565 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมโรงแรมแกรนด์อินเตอร์ ต.โคกขาม อ.เมืองสมุทรสาครนายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานการตัดสินและให้ข้อคิดเห็นในการประกวดลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีคณะกรรมการจากหน่วยงานภาครัฐ หอการค้าจังหวัด กลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี หลายหน่วยงานร่วมให้คะแนนลายผ้าอัตลักษณ์ของจังหวัดสมุทรสาครที่มีผู้ส่งเข้ามาประกวดถึง 130 ผลงาน

สำหรับ การประกวดลายผ้าอัตลักษณ์ของจังหวัดสมุทรสาคร มีแนวคิดหลักคือ “สาครบุรี นวัตวิถีแห่งภูมิปัญญา” โดยได้กำหนดให้ใช้ลวดลายของเบญจรงค์จังหวัดสมุทรสาคร นั่นลาย ลายจักรี นำมาออกแบบผสมผสานกับลวดลายที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของสมุทรสาคร ส่วนกลุ่มสีจะต้องสื่อถึงความเป็นสมุทรสาคร เช่น น้ำเงิน ฟ้าน้ำทะเล และผู้ส่งเข้าประกวดต้องบอกแนวคิดในการออกแบบได้อย่างชัดเจน สามารถถ่ายทอดถึงแรงบันดาลใจ แนวคิด การประยุกต์ใช้มรดกทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นออกมาเป็นผลงาน และต่อยอดไปในเชิงพาณิชย์ได้

สำหรับ ผลงานทั้ง 130 ชิ้น ต่างก็มีลวดลายที่อ่อนช้อย สวยงาม มีการผสมผสาน แทรก อัตลักษณ์ของจังหวัดสมุทรสาครเข้าไปในลายผ้า อาทิ ปลาทู คลื่นทะเล เรือประมง เป็นต้น ทำให้คณะกรรมการต้องคิดหนักในการให้คะแนนว่าแต่ละลายนั้นตรงกับหลักเกณฑ์มากน้อยขนาดไหน เพื่อคัดเลือกผลงานที่สุด 5 ชิ้น แล้วให้เจ้าของผลงานนำไป ทำเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเข้าสู่การประกวดในรอบสุดท้าย ซึ่งหลักเกณฑ์ในการผลิตชิ้นงานนั้น ต้องใช้เทคนิคที่ชุมชนทำได้ เช่น ย้อมแบบผ้าบาติก ปั้มเทียน การปัก การวาดลาย แต่จะต้องไม่ใช่การพิมพ์ลายในรูปแบบของโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ เพราะจะไม่เกิดประโยชน์แก่ชุมชน

ด้านนายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้ให้แนวคิดว่า การจะทำลายผ้าอัตลักษณ์ของจังหวัดนั้น ไม่ใช่จะดูเพียงว่าลายนั้นสวยหรือไม่สวย แต่ต้องดูทั้งกระบวนการว่า เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสมุทรสาครอย่างแท้จริงหรือไม่ นั่นคือ เมื่อได้ลายแล้ว การนำไปทำเป็นชิ้นงานต่างๆ ก็ต้องทำโดยชุมชน ด้วยวิธีการที่ชุมชนสามารถทำได้ คนพื้นที่อื่นไม่สามารถทำได้ แบบนี้จึงจะเรียกว่า อัตลักษณ์ที่แท้จริง และเป็นประโยชน์กับชุมชน ต่อไป

Related Articles