สมุทรสาครการจัดเวทีระดมความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประกาศย่านชุมชนเก่าท่าฉลอม

สมุทรสาครการจัดเวทีระดมความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประกาศย่านชุมชนเก่าท่าฉลอม

สมุทรสาครการจัดเวทีระดมความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประกาศย่านชุมชนเก่าท่าฉลอม

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมโรงเรียนเทศบาลวัดช่องลม (เปี่ยมวิทยาคม) ต.ท่าฉลอม อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร นายณรงค์ รักร้อย เป็นประธานเปิดโครงการประกาศเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม” การจัดเวทีระดมความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประกาศย่านชุมชนเก่าท่าฉลอม” โดยมีนายวัฒนา พรประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสาคร นางสายเพชร จังกาจิตต์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสาคร น.ส.พรรณพิมล ฉายาจิตชยวัศ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสมุทรสาคร นายชุมพล จันทร์จรัสวัฒนา นายกเทศมนตรีนครสมุทรสาคร ผศ.พิทยา บุญคงเสน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตสมุทรสาคร นางกิตติมา ยินเจริญ ผู้อำนวยการกองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัดสมุทรสาคร ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนชาวตำบลท่าฉลอมเข้าร่วมงาน โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการประกาศเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม “การจัดเวทีระดมความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประกาศย่านชุมชนเก่าท่าฉลอม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร”ได้ระดมความคิดเห็น ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของการประกาศชุมชนเมืองเก่าทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สู่การดำเนินการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ฟื้นฟูชุมชนเก่าในระดับจังหวัด เป็นตัวอย่างการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติสืบไป

สำหรับโครงการนี้จัดขึ้นเนื่องจาก เพื่อในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ชุมชนที่อยู่อาศัยดั้งเดิมหลายแห่งได้รับการบำรุงรักษาส่งเสริม ฟื้นฟูและ อนุรักษ์จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่รู้จัก เช่น ชุมชนคลองอัมพวา ชุมชนตลาดสามชุก ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ย่านวัดเกตุการาม (จังหวัดเชียงใหม่) และย่านถนนพระอาทิตย์บางลำพูและชุมชนย่านกุฏิ จีน (กรุงเทพมหานคร) แม้ว่ากระแสการฟื้นฟูชุมชนจะมีมากขึ้น แต่ชุมชนดั้งเดิมอีกหลายแห่งยังมิได้รับการฟื้นฟูและเกิดการเสื่อมสลายในทางตรงกันข้ามชุมชนบางแห่งเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วจนทำลายคุณค่า มรดกวัฒนธรรมของตนเองไป ซึ่งยากที่จะนำกลับมาใหม่ให้เหมือนเดิม ในอดีตการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าอาศัยการดำเนินงานของกรมศิลปากร ตามพระราชบัญญัติ บัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพ.ศ.2504แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ได้มีการแบ่งประเภทโบราณสถานโดยใช้ลักษณะทางกายภาพเป็นเกณฑ์มี 6 ประเภท ซึ่งมีประเภทหนึ่งที่ คล้ายกับเมืองเก่าคือ ย่าน ชุมชน และเมืองประวัติศาสตร์โดยมีความหมายว่า “ย่านหรือเมืองที่ประกอบด้วย โบราณสถาน ร่องรอยหลักฐานของเมือง เช่น พื้นที่คูเมือง กำแพงเมือง หรือพื้นที่ตั้งสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะ กลมกลืนกัน มีความเก่าแก่ต่อเนื่องมาแต่อดีตจนถึงช่วงเวลาหนึ่ง และมีเรื่องราวสืบต่อกันมาเป็นรูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และพัฒนาการของสังคมในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่และขอบเขตกว้างกว่ากลุ่ม ของสิ่งก่อสร้าง”ในปัจจุบันกระแสการอนุรักษ์ได้แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง การดำเนินการอนุรักษ์เมืองเก่าตาม กฎหมายนอกจากพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ตามที่ได้กล่าวถึงแล้ว ยังมีการดำเนินการตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า พ.ศ.2546 และกฎหมายอีกหลาย ฉบับ นอกจากนี้ยังแพร่ขยายเข้าสู่กลุ่มประชาชนและชุมชน ทำให้เกิดแนวคิดที่ว่า ย่านเก่า หรือเมืองเก่า มิได้ เป็นบริเวณที่มีบ้านเรือนเก่าแก่มารวมตัวกันเท่านั้น หากแต่เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมในปัจจุบันนี้ซึ่งหากจะหาจิตวิญญาณของสังคมหรือชุมชน ในปัจจุบันคงต้องพิจารณาจากย่านเก่าหรือเมืองเก่านั่นเอง ดังนั้น ประชาชนทุกคนควรตระหนักจึงถือเป็นภารกิจในการ รักษาเมืองเก่า และแหล่งศิลปกรรมต่าง ๆ ไว้เพื่อให้เป็นมรดกจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่น ต่อไป

Related Articles