สมุทรสาครจัดโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ออกหน่วยบริการ พร้อมรับฟังปัญหาความเดือดร้อนประชาชน

สมุทรสาครจัดโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ออกหน่วยบริการ พร้อมรับฟังปัญหาความเดือดร้อนประชาชน

สมุทรสาครจัดโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ออกหน่วยบริการ พร้อมรับฟังปัญหาความเดือดร้อนประชาชน

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.30 น. นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานเปิดโครงการจังหวัดสมุทรสาครเคลื่อนที่ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 1/2567 โดยมีนางวันทนา ดำธรรม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรสาคร รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด พระครูปลัด ดิชณัชธพงษ์ สุภทฺโท เจ้าอาวาสวัดคลองตันราษฎร์บำรุง หัวน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายอำเภอบ้านแพ้ว ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัด คหบดี ภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ ที่บริเวณวัดคลองตันราษฎร์บำรุง ตำบลเกษตรพัฒนา อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

โดยภายในงานมีการมอบถุงยังชีพให้กับพี่น้องประชาชนผู้ด้อยโอกาส จำนวน 100 ชุด มอบจักรยาน จำนวน 20 คันให้กับนักเรียนเรียนดี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรสาคร มอบเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม จำนวน 42 รายๆ ละ 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 126,000 บาท ซึ่งจะโอนเข้าบัญชีให้กับเจ้าตัวโดยตรง นอกจากนี้ยังมีการออกบูทบริการประชาชนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ อีกกว่า 50 หน่วยงาน อาทิ อำเภอบ้านแพ้วตั้งศูนย์ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ, สำนักงานจังหวัดตั้งโต๊ะรับฟังความต้องการพี่น้องประชาชนเพื่อนำไปจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด, ทหารจากค่ายกำแพงอัครโยธินบริการตัดผมฟรี, ขนส่งจังหวัดเปิดชำระภาษี, ปศุสัตว์ทำหมันสุนัขแมว, พาณิชย์จังหวัดนำสินค้าธงฟ้าราคาประหยัดมาจำหน่าย, เกษตรจังหวัดแจกน้ำหมักชีวภาพและแจกต้นไม้, เกษตรและสหกรณ์ให้คำปรึกษากองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน, ประกันสังคมให้คำแนะนำและลงทะเบียนการทำประกันสุขกับมาตรา 40, สาธารณสุขและรพ.สต.ในพื้นที่ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ตรวจสายตา เป็นต้น

 

การดำเนินโครงการ “จังหวัดสมุทรสาครเคลื่อนที่” เป็นการนำส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ ตำบลหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรสาคร ออกมาบริการประชาชนในพื้นที่ เพื่อประชาชนได้ใกล้ชิดกับส่วนราชการ เข้าถึงบริการของภาครัฐให้มากยิ่งขึ้น โดยลงมาให้คำปรึกษาแนะนำ และรับฟังปัญหาจากพี่น้องประชาชนถึงในพื้นที่ เป็นการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และสร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารสองทางระหว่างภาคราชการกับประชาชน ภาครัฐลงมารับฟังประชาชนแล้ว และก็มีบางเรื่องที่ภาครัฐอยากจะสื่อสารกับประชาชน อีกด้วย

Related Articles