เรือเจ้าแม่ประดู่ทอง กองทัพเรือ ชลบุรี – เรืออัครมงคลนาวา สมุทรปราการ ครองถ้วยพระราชทานฯ การแข่งขันเรือยาวประเพณี จ.สมุทรสาคร ครั้งที่ 18

เรือเจ้าแม่ประดู่ทอง กองทัพเรือ ชลบุรี – เรืออัครมงคลนาวา สมุทรปราการ ครองถ้วยพระราชทานฯ การแข่งขันเรือยาวประเพณี จ.สมุทรสาคร ครั้งที่ 18

เรือเจ้าแม่ประดู่ทอง กองทัพเรือ ชลบุรี – เรืออัครมงคลนาวา สมุทรปราการ ครองถ้วยพระราชทานฯ การแข่งขันเรือยาวประเพณี จ.สมุทรสาคร ครั้งที่ 18

วันที่ 14 กรกฎาคม 2567 เวลา 17.30 น. นายผล ดำธรรม  ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานในพิธีปิดการแข่งขันเรือยาวประเพณี จังหวัดสมุทรสาคร ประจำปี 2567 ครั้งที่ 18 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ สนามคลองชลประทาน ดี7 (คลองตาขำ) ตำบลชัยมงคล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสาคร โดยมี ร.ต.ประพันธ์ ถึกสกุล นายอำเภอเมืองสมุทรสาคร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายนัธทวัฒน์ โพธิ์เขียว ท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร นายทนงศักดิ์ งามกาละ นายก อบต.ชัยมงคล คณะกรรมการสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมุทรสาคร คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา อบต. ชัยมงคล ผู้นำท้องถิ่น คณะกรรมการจัดการแข่งขัน เข้าร่วมกิจกรรม

สำหรับ การแข่งขันเรือยาวประเพณี จังหวัดสมุทรสาคร ประจำปี 2567 ครั้งที่ 18 มีทีมเรือและประชาชนที่สมัครเข้าแข่งขัน ดังนี้ เรือยาว 55 ฝีพาย สมัครเข้าแข่งขัน 6 ทีม , เรือยาว 30 ฝีพาย สมัครเข้าแข่งขัน 13 ทีม , เรือยาว 7 ฝีพาย สมัครเข้าแข่งขัน 17 ทีม , กีฬาพื้นบ้านโล้กระทะ มีผู้เข้าแข่งขัน 4 คน และ กีฬาพื้นบ้านมวยทะเล 6 คน  ทั้งนี้กีฬาทุกประเภทได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดำเนินการแข่งขันระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2567 ได้เสร็จสิ้นแล้ว  ได้ผู้ชนะแต่ละประเภทเรียบร้อยแล้ว ดังมีผลการแข่งขัน ดังนี้

ประเภทเรือใหญ่ ไม่เกิน 55 ฝีพาย ประเภท ก  รางวัลชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทานฯ ได้แก่ เรือเจ้าแม่ประดู่ทอง กองทัพเรือ จังหวัดชลบุรี  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้แก่ เรือหนุ่มโพธารามฉลองคลัทช์ จังหวัดราชบุรี  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้แก่ เรือสิงห์ปทุม จังหวัดปทุมธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 3 ได้แก่ เรือเจ้าแม่เพ็ชรดารา จังหวัดนครสวรรค์

ประเภทเรือใหญ่ ไม่เกิน 55 ฝีพาย ประเภท ข  รางวัลชนะเลิศ  ครองถ้วยเกียรติยศฯ ได้แก่ เรือเจ้าแม่ประดู่เงิน กองทัพเรือ จังหวัดชลบุรี  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1  ได้แก่ เรือกระทิงแดงเพชรนาวา จังหวัดเพชรบุรี

ประเภทเรือเล็ก ไม่เกิน 30 ฝีพาย ประเภท ก  รางวัลชนะเลิศ  ครองถ้วยพระราชทานฯ ได้แก่ เรืออัครมงคลนาวา จังหวัดสมุทรปราการ  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้แก่ เรือเลิศชัยยะ Joe Design จังหวัดสิงห์บุรี  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้แก่ เรือสิงห์ลำนัง จังหวัดพิจิตร  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 3 ได้แก่  เรือหงส์ทอง คนสวยเมืองเพชรสิงห์สยาม จังหวัดเพชรบุรี

ประเภทเรือเล็ก ไม่เกิน 30 ฝีพาย ประเภท ข รางวัลชนะเลิศ ครองถ้วยเกียรติยศฯ ได้แก่ เรือกรกฎนาวาเพชรจีจ้า จังหวัดเชียงราย  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้แก่ เรือพรายเพชรจังหวัดเพชรบุรี  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้แก่ เรือเจ้าแม่ขันเงิน จังหวัดสมุทรสาคร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 3 ได้แก่ เรือเพชรจอมทอง จังหวัดพิษณุโลก

ประเภทเรือชุมชน ไม่เกิน 7 ฝีพาย ประเภท ก  รางวัลชนะเลิศ ครองถ้วยเกียรติยศฯ ได้แก่ เรือกำนันเบญญพร  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้แก่ ขวัญใจโพหัก  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้แก่ เรือธิดาท่าสาร  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 3 ได้แก่ เรือสิงห์บางสองร้อย

ประเภทเรือชุมชน ไม่เกิน 7 ฝีพาย ประเภท ข  รางวัลชนะเลิศ ครองถ้วยเกียรติยศฯ ได้แก่ เรือสิงห์สำราญ  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้แก่ เรือหนุ่มสวนขวัญ  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้แก่ เรือหนุ่มสายย่อ  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 3 ได้แก่ เรือบึบบับนาวา

นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้กล่าวแสดงความชื่นชม ที่ได้รับทราบจากการรายงานว่า การดำเนินโครงการแข่งขันเรือยาวประเพณี จังหวัดสมุทรสาคร ครั้งที่ 18 ประจำปี 2567 ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ที่เห็นคุณค่าของการแข่งขันเรือยาวประเพณี จังหวัดสมุทรสาคร ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นการเทิดพระเกียรติ อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสาครส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของแม่น้ำลำคลองในชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ เสริมสร้างให้เด็ก เยาวชน และประชาชน มีความรู้เรื่องประวัติการแข่งขันเรือยาว ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนริมน้ำคลองตาขำ ซึ่งการแข่งขันเรือยาวประเพณีมิได้มุ่งหวังแต่ชัยชนะ เพื่อให้ได้รับรางวัล หรือชื่อเสียงเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งสร้างคนให้เป็นนักกีฬาอย่างแท้จริง เป็นผู้รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้จักการให้อภัย ซึ่งหวังว่าการแข่งขันเรือยาวประเพณีครั้งนี้จะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก เยาวชน ประชาชน และผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ตลอดไป

Related Articles